ชื่อท้องถิ่น ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ(แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง), เกีย(จีนแต้จิ๋ว) ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe. วงศ์ ZINGIBERACEAE ชื่อสามัญ Ginger ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป้นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 105 - 2 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 - 25 ซม. ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ขยายพันธุ์ เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก หรือดินเหนียวปนทราย โดยยกดินเป็นร่องห่างกัน 30 ซม. ปลูกห่างกัน 20 ซม. ลึก 5 - 10 ซม. ขิงชอบขึ้นในที่ชื้นมีการระบายน้ำดี ถ้าน้ำขังอาจโดนโรคเชื้อรา ส่วนที่นำมาเป็นยา เหง้าแก่สด
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ
ในเหง้าขิงมี
สรรพคุณ ต้น ขับผายลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงธาตุไฟ รักษานิ่ว ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ท้องร่วง ใบ ใบสดใช้คั้น เอาแต่น้ำกิน บรรเทาอาการฟกช้ำ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม รักษาโรคกำเดา นิ่ว เบาขัด ฆ่าพยาธิ ขับลมในลำไส้ ดอก ทำให้ชุ่มชื่น ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ รักษานิ่ว ขัดเบา ผล รักษาอาการไข้ บรรเทาอาการคอแห้ง เจ็บคอ กระกายน้ำ ตาฟาง ตาต้อกระจก วิงเวียน บำรุงน้ำนม ราก ทำให้ผิวหนังสดชื่น ขับลม ช่วยให้หลอดคอโปร่ง ทำให้เสียงไพเราะ ฆ่าพยาธิ ช่วยเจริญอาหาร รักษาบิดตกเป็นโรหิต นิ่ว ไอ เหง้า ใช้ทั้งแก่และอ่อน ทำเป็นเครื่องเทศ เครื่องดื่ม กลบรสแต่งกลิ่น ทางยาใช้ขับลม รักษาอาการท้องอืด จุกเสียด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ไอ หอบ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ รักษาบิด เปลือกเหง้า ใช้แห้ง ต้มน้ำกิน ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาอาการท้องอืดแน่น อาการบวมน้ำ ใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แผลมีหนอง
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ท้องผูก ขับลม คลื่นไส้อาเจียน
และอาการเมารถเมาเรือ
ปวดกระเพาะอาหาร
ผมร่วง
หัวเริ่มล้าน
แก้สะอึก
ขับเหงื่อ
แก้ตานขโมย
แก้ไข้
ร้อนใน
ถูกแมงมุมกัด แผลที่บีบน้ำเหลืองออก
แก้ไอ
กำจัดกลิ่นรักแร้
แผลเริมบริเวณหลัง
ฟกช้ำจากการหกล้ม หรือกระทบกระแทก
หนังมือลอกเป็นขุย
แก้หวัด
พยาธิตัวกลมจุกลำไส้
การออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีอาทิเช่น
|