1 2 3 4 5 6 7 8 9

 

ขิง จัดเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้เติมรสเผ็ดร้อนในอาหาร มีรสชาติและกลิ่นค่อนข้างพิเศษไม่เหมือนพืชชนิดอื่น มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษ เป็นน้ำมันหอมระเหย ให้ทั้งรสและกลิ่น ชื่อว่า จินเจอรอล (gingerol) สารนี้อยู่ในกลุ่มแอลกอฮอล์

ประโยชน์ของขิง


     - ใช้ขิงรักษาอาการคลื่นไส้ได้ดี ใครที่รู้สึกพะอืดพะอมลองได้ดื่มน้ำขิงสักแก้ว หรือเคี้ยวหัวขิงสักพักจะรู้สึกดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และขิงใช้แก้อาการคลื่นไส้ได้ดีกว่ายาดรามามีน (Dramamine) ที่นิยมใช้กันอยู่ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักมีอาการเมายาสลบจิบน้ำขิงเข้มข้นสักครึ่งช้อนชา จะช่วยแก้อาการเมายาได้ : นายแพทย์โบน (M.E. Bone) แห่งโรงพยาบาลบาร์ทอโลมิว (Bartholomew) ลอนดอน อังกฤษ


     - ใช้รักษาอาการปวดศีรษะทั้งชนิดสองข้าง และข้างเดียว (ไมเกรน) ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ แนะนำให้ดื่มน้ำขิงเข้มข้นเป็นประจำ หรือไม่ก็รับประทานขิงสดบ่อยๆ เชื่อว่าสารเคมีที่อยู่ในขิงจะสามารถปรับระดับสารกึ่งฮอร์โมนที่เรียกกันว่าสารไอโคซานอยด์ (eicosanoid) ทำให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลง : นายแพทย์กฤษณะ ศรีวัสทวา (Krishna Srivastava) มหาวิทยาลัยโอเดนส์ เดนมาร์ก


     - แก้อาการแน่นหน้าอก


     - รักษาอาการท้องร่วง โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคอหิวาห์ระบาด


     - ใช้รักษาหวัด ไอน้ำมันหอมระเหยจากน้ำขิงจะช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจ


     - ลดอาการเจ็บข้อ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรครูมาติซึ่ม ให้ผู้ป่วยหมั่นรับประทานขิงสด ลองเพิ่มขิงเข้าไปในอาหารทุกมื้อ อาการปวดข้อจะทุเลาลง


     - ช่วยป้องกันโรคหัวใจและรักษาโรคกระเพาะ การรับประทานขิงปริมาณมากๆ จะทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง เชื่อว่า สารจินเจอรอลจะแสดงฤทธิ์ต้านการเกิดลิ่มเลือดได้เช่นเดียวกับแอสไพริน (ไม่มีผลต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอีกด้วย) : นายแพทย์ชาลส์ ดอร์ส (Charles R. Dorse) แห่งวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน
โภชนาการทันสมัย

 

1 2 3 4 5 6 7 8 9